รายการที่นำมาใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษี       เงื่อนไขในการนำมาลดหย่อนภาษี    
ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรส  30,000 บาท
ค่าเบี้ยประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท
 **ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่เกิน 200,000 บาท
 ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
 **ซึ่งบิดา-มารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี และไม่กำหนดอายุขั้นต่ำ
ค่าลดหย่อนสำหรับบุตร
บุตรที่ไม่ศึกษา/และศึกษาต่างประเทศ  คนละ 15,000 บาท
และ  บุตรที่ศึกษาในประเทศ คนละ 17,000 บาท
 **รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน และบุตรต้องอายุไม่เกิน 25 ปี 
ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา  คนละ 30,000 บาท 
 **ซึ่งบิดา-มารดา ต้องมีอายุ 60 ปี  ต้องมีรายได้ในปีขอลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท 
ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ
หรือ คนทุพพลภาพ
คนละ 60,000 บาท
 **ซึ่งผู้มีเงินได้จะต้องเป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ    และบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม  และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพ มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ 
เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่เกิน 500,000 บาท
 **หักลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ 
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ไม่เกิน 500,000 บาท
 **หักลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ 
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว  ไม่เกิน 500,000 บาท
 **หักลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ 
 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย   ไม่เกิน 100,000 บาท
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง
ซื้อสินค้า หรือใช้บริการภายในประเทศ ไม่เกิน 15,000 บาท
**ต้องเป็นเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้า ชำระค่าบริการ จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในระหว่างวันที่ 25-31 ธันวาคม 2558 เท่านั้น 
ค่าการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ไม่เกิน 15,000 บาท
 เงินบริจาค หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ 



 

การนำเบี้ยประกันภัยหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

     " สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของ คุณพ่อ และคุณแม่ มาลดหย่อนภาษี และได้ความคุ้มครองด้วยนะครับ "

       คุณรู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันค่าเบี้ยประกันภัยที่กรมสรรพากรยินยอมให้ผู้มีเงินได้นำมาหักลด หย่อนภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดา มี 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

     1.ค่าเบี้ยประกันชีวิตของตัวผู้มีเงินได้เอง โดยนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท มีเงื่อนไขดังนี้

      - ค่าเบี้ยประกันชีวิต ไม่รวมค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาเพิ่มเติมอื่น ๆ
      - เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
      - กรณีเป็นกรมธรรม์ประกันชิวิตที่มีผลประโยชน์ตอบแทนคืน ผลประโยชน์ตอบแทนคืนนั้นจะต้องไม่เกินร้อย
        ละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปีหรือเบี้ยประกันชีวิตสะสม
      - บริษัทประกันชีวิตที่ออกกรมธรรม์ต้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

 

     2. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา โดยนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท มีเงื่อนไขดังนี้
     - ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา มารดา
     - บิดา มารดา มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท
     - ถ้าผู้มีเงินได้ มิได้อยู่ในประเทศไทย บิดา มารดาต้องอยู่ในประเทศไทย
     - กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมชำระเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา ให้เฉลี่ยหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกัน
       สุขภาพของบิดา มารดาตามจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท

 

      3. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญของตัวผู้มีเงินได้เอง โดยนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท มีเงื่อนไขดังนี้
     - เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
     - ผู้มีเงินได้ต้องได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปีหรือกว่านั้น
       ทั้งนี้ ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วยแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ
    - ผู้มีเงินได้ได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอขณะมีชีวิตอยู่
    - บริษัทประกันชีวิตที่ออกกรมธรรม์ต้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทย


ที่มา : ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 162 , 172 และ 194

 3) ผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 5 แสนบาทแต่ไม่เกิน 7.5 แสนบาท     เสียภาษีร้อยละ 15
    
       4) ผู้ที่มีรายได้ 7.5 แสนบาทแต่ไม่เกิน 1ล้านบาท  
  เสียภาษีร้อยละ 20

       5) ผู้ที่มีรายได้ 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาท    
 เสียภาษีร้อยละ 25

       6) ผู้ที่มีรายได้ 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท   
  เสียภาษีร้อยละ 30

      
 7) ผู้ที่มีรายได้ 5 ล้านบาทขึ้นไป                             เสียภาษีร้อยละ 35